เส้นทางคาราโครัมไฮเวย์
เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศจีนกับประเทศปากีสถาน เป็นระยะทางยาวจนต้องบันทึกในประวัติศาสตร์โลก จากเมืองแอบบอตดาบัดของปากีสถานผ่านภูมิภาคตอนเหนือของประเทศจนถึงคุนจีราฟพาส ซึ่งเป็นพาสชายแดนระหว่างประเทศที่สูงที่สุดในโลกอีกด้วย (สูง 4,700 เมตรจากน้ำทะเล) แล้วจึงเชื่อมต่อออกไปอีกจนกระทั่งถึงเมืองคัชการ์ของประเทศจีน รวมแล้วมีความยาวประมาณ 1,300 กิโลเมตรโดยใช้วิศวกรและกำลังคนบางส่วนจากประเทศจีนร่วมมือช่วยเหลือกันกับแรงงานฝั่งประเทศปากีสถาน ระหว่างทางท่านจะได้พบทัศนียภาพที่สวยงามราวกับสวรรค์สรรสร้าง ยากที่จะบรรยายออกมาเป็นคำพูด ต้องมาสัมผัสด้วยตาท่านเอง
หุบเขาฮุนซ่า
เป็นหุบเขาในเมืองกิลกิต (Gilgit) ซึ่งอยู่ในเขตปกครองพิเศษกิลกิต-บาลิสถาน (Gilgit- Baltistan) ดินแดนใต้การปกครองของรัฐบาลปากีสถาน หุบเขาฮุนซ่าตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำฮุนซ่าอยู่ในระดับ 2,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยมีเมืองคาริมาบัดเป็นเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวติดอันดับจากความงดงามของทัศนียภาพที่โอบล้อมด้วยภูเขาที่สูงตระหง่าน อย่างเช่น อูลท่า ซ่าร์ (Ultar Sar), ราคาโพชิ (Rakaposhi),โบจาฮาเกอร์เดอร์นาเซอร์ (Bojahagur Duanasir II), ฮุนซ่าพีค (Hunza Peak), ดิรันพีค(Diran Peak),และบับลิมาติ้ง (Bublimating),(เลดี้ฟิงเกอร์–Ladyfinger Peak) ซึ่งภูเขาต่างๆเหล่านี้มีความสูงมากกว่า 6,000 เมตร เหนือระดับทะเล
ด่านช่องเขาคุนจีราบ
ช่องทางการค้าที่สูงที่สุดในโลก จุดบรรจบแห่งอารยะธรรมโบราณบนเส้นทางสายไหมอันเก่าแก่ ที่นี่คือด่านพรมแดนที่สูงที่สุดในโลก สูงจากระดับนํ้าทะเลกว่า 4,730 เมตร บนเมือกเขาคาราโครัม ซึ่งเดินทางตามแนวเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมเอเชียกลางสู่ยุโรป เทือกเขาหิมะสลับซับซ้อนเหมือนสวิสเซอร์แลนด์ และสามารถพบเห็นสัตว์หายาก เช่นตัว Ibex หรือ แพะภูเขา Yak ที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาสูง จนถึงจุดสุดท้ายที่ด่านชายแดนระหว่าง ปากีสถาน และ จีน ก่อนที่จะออกไปยังประเทศจีนบนเส้นทางสายไหมที่ซินเกียง
ธารน้ำแข็งเมืองพาสสุ
เมืองพาสสุ (Passu) เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่บนเส้นทางทางคาราโครัมข้างๆแม่น้ำฮุนซ่า ทางตอนใต้ของหมู่บ้านจะมีธารน้ำแข็ง ธารน้ำแข็งแห่งนี้จะไหลไปเชือมโยงกับธารน้ำแข็ง Batura การเข้าชมต้องเดิน trekking ซึ่งเดินประมาณ 2 กิโลเมตร แล้วจะได้พบกับธารน้ำแข็งพัสสุสีขาวอันยิ่งใหญ่ตระการตา
ทะเลสาบอัตตาบัด
เป็นทะเลสาบที่เกิดจากดินถล่มเพราะแผ่นดินไหวเมื่อปี 2009 ลงมากั้นแม่น้ำฮุนซ่า จนกลายเป็นทะเลสาบสีเทอควอยส์แบบนี้ซึ่งทะเลสาบนี้มีความยาว 21 เมตร และความลึก 103 เมตร รอบๆทะเลสาบบางส่วนจะเห็นดินที่ถล่มลงมาจนกลายเป็นเขื่อนกั้นทะเลสาบ การเดินทางขึ้นเหนือไปจีนก่อนหน้านี้ ต้องใช้ทางเรือเท่านั้น ทางจีนได้ช่วยสร้างอุโมงค์ลอดเขาเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางคาราโครัมใหม่
สะพานแขวนโกจาว
สะพานที่ใช้ข้ามแม่น้ำของคนท้องถิ่นทอดยาวผ่านทะเลสาบบอริท (Borit Lake) ทะเลสาบน้ำจืดสีเขียวใสที่หลบซ่อนตัวอยู่อย่างสงบท่ามกลางหุบเขาสวย
บัลติทฟอร์ด BALTIT FORT
สัญลักษณ์ของหุบเขาฮุนซ่า เป็นที่อยู่ในอดีตของเหล่า ผู้ปกครองฮุ่นซ่า (MIRS) โดยตั้งอยู่บนเนินเขาสูงของเมืองคาริมาบัด ท่านสามารถเห็นวิวรอบเมืองฮุนซ่าได้จากที่นี่ BALTIT FORT ได้สร้างขึ้นมานานกว่า 700 ปี แต่ได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมเสมอมา BALTIT FORT นั้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบ บัลติสถานผสมผสานกับทิเบต และในปัจจุบันบัลติตฟอร์ดยังอยู่ในรายชื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกของ Unesco อีกด้วย
Altit Fort
ป้อมโบราณที่เก่าแก่ที่สุดใน Gilgit – Baltistan ตั้งอยู่บนหน้าผาริมแม่น้ำ Hunza เดิมเป็นบ้านของผู้ปกครองของรัฐ Hunza ก่อนจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ป้อม Baltit ในเวลาต่อมา คาดกันว่าป้อมแห่งนี้มีอายุมากกว่า 1,100 ปี ภายในมีหอคอย Shikari สามารถมองเห็นวิวหมู่บ้านคาริมาบัดและวิวของหุบเขาฮุนซาที่งดงาม
นครโบราณตักศิลา
นครโบราณ‘ตักศิลา อดีตที่รุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา
เมืองตักศิลา (Taxila City) คือหนึ่งในแหล่งรวมภูมิปัญญาสรรพวิทยาการแทบทั้งหมดเอาไว้ในโลกยุคโบราณ โดยถือเป็นเมืองมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่สุดของชมพูทวีป อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ปกครองโดยบวรพุทธศาสนา รุ่งเรืองเฟื่องฟูที่สุดในช่วงปี ค.ศ. 1-5 ทำให้เมืองนี้โด่งดังไปทั่วโลก ทั้งกษัตริย์ นักการเมือง การทหาร และลูกผู้ดีมีเงิน จากทั้งในทวีปเอเชียและยุโรป ต่างก็ส่งลูกหลานมาร่ำเรียนที่นี่กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าปเสนทิโกศล, พระเจ้าจันทรคุปต์ (ปู่ของพระเจ้าอโศกมหาราช), หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจำตัวพระพุทธเจ้า), องคุลีมาล, จาณักยะพราหมณ์ (พราหมณ์คู่ใจพระเจ้าจันทรคุปต์) หรือแม้แต่เจ้าชายสิทธัตถะ ต่างก็เคยมาร่ำเรียนที่นี่ทั้งสิ้น
หรือแม้แต่หลวงจีนฟาเหียนและพระถังซัมจั๋ง ก็เคยเดินจาริกมาที่ตักศิลา และได้บันทึกชื่อเมืองนี้ไว้อย่างชัดเจน ความรุ่งเรืองของตักศิลาที่ตั้งอยู่บนจุดเชื่อมต่อเอเชีย-ยุโรปของเส้นทางสายไหมยุคโบราณ จึงยั่วยวนใจให้หลายอาณาจักรโดยรอบผลัดกันเข้ายึดครอง ทั้งเปอร์เซีย กรีก อินเดีย และจีนฮั่น ส่งผลให้ตักศิลากลายเป็นเบ้าหลอมของหลากวัฒนธรรมอย่างแท้จริง แม้องค์พระบรมธาตุเขี้ยวแก้ว ที่วัดหลิงกวง หลวงจีนฟาเหียนก็ได้รับถวายมาจากเจ้าผู้ครองแคว้นคันธาระแห่งนี้เช่นเดียวกัน