การวิจัยและพัฒนาพันธุ์กาแฟ การสร้างสาธารณูปโภค รวมถึงการคมนาคม ถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ เพื่อขนส่งผลผลิต มีระบบเอเยนต์ ตัวกลางซื้อขาย การจูงใจและสนับสนุนจากภาครัฐ เมื่อ Barnes หมดวาระผู้ว่าการในปี 1831 กาแฟก็กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของศรีลังกา ยิ่งไปกว่านั้น การเลิกทาสในจาไมก้า ณ ปี 1838 ยิ่งส่งเสริมความสำคัญของกาแฟจากศรีลังกาให้แก่อังกฤษมากขึ้น ในปี 1870s เกาะซีลอน (อีกชื่อเรียกของประเทศศรีลังกา) ก็กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟอันดับหนึ่งของโลกอย่างเต็มภาคภูมิ
ชาวศรีลังกาดีใจอยู่ได้ไม่นาน หลังจากนั้นราวๆหนึ่งทศวรรษ โรคระบาด (coffee rust) ได้ทำลายต้นกาแฟบนเกาะซีลอนลงจนหมดสิ้น ท่ามกลางภาวะโกลาหล สับสน เศรษฐกิจล่มสลาย James Taylor ชาวสกอตช์ ผู้ซึ่งริเริ่มปลูกพืชใหม่ในที่ดินบางส่วนของเขาเงียบๆตั้งแต่ปี 1867 และฉายความสำเร็จโดยส่งออกชาซีลอนล็อตแรก 23 ปอนด์ไปยังอังกฤษในปี 1873 ข่าวดีนี้เรียกความสนใจจากชาวไร่ชาวสวนทั้งหมด มาเยี่ยมและเรียนรู้การปลูกชาจากไร่ของ Taylor แล้วพร้อมใจกันโค่นต้นกาแฟทิ้งทั้งเกาะ ใช้เวลาสิบปีเพื่อเปลี่ยนพืชเศรศฐกิจของเกาะซีลอนเป็น Ceylon Tea
เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราชในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1948 แม้จะผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างยากลำบากในช่วง 10-20 ปีแรก ชาวศรีลังกาก็ยังรักษาชาซีลอนเป็นพืชเศรษฐกิจ มีพัฒนาการมากมายจนกลายเป็นผู้ส่งออกชาอันดับหนึ่งของโลกตั้งแต่ปี 1962 และรักษาสถานะผู้ส่งออกสำคัญของโลก ทั้งคุณภาพและปริมาณมาจวบจนปัจจุบัน