มหินตเล

มหินตเล สถานที่พระมหินทเถระ ก้าวพระบาทแรกลงบนเนินยอดเขาหิน และเป็นสถานที่สุมนสามเณรกล่าวชุมนุมเทวดา

มหินตะเล เป็นบุณยเขตสำคัญสูงสุดแห่งหนึ่งของลังกา เหตุเพราะเป็นสถานที่แห่งแรกที่พระพุทธศาสนาประดิษฐานบนผืนเกาะลังกา โดยพระสมณทูตมหินทเถระ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งภารตประเทศ สมัยต่อมาอารามแห่งนี้ก่อเกิดพัฒนาการกลายเป็นวัดป่าอรัญวาสีมีพระสงฆ์จำพรรษาประมาณ 2,000 รูป ถือว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาสำคัญแห่งหนึ่งของลังกา ทุกวันเพ็ญเดือนเจ็ดของทุกปี ชาวพุทธลังกาจากทั่วทุกสารทิศต่างเดินทางมุ่งหน้ามามิหินตะเลแห่งนี้ เพื่อน้อมรำลึกถึงคุณูปการของพระมหินทเถระ เรียกกันว่า วันโปสอนบูชา ( Poson Puja Day ) การเดินขึ้นยอดเขามหินตะเลนั้น จะต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 1,840 ขั้น มีอายุราว 1,500 ปี แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ซึ่ง 2 ข้างทางจะมีต้นลีลาวดี ( ภาษาสิงหลเรียกชื่อว่า ต้นอะละริยะ ) อยู่ตลอด ส่วนอีกด้านหลังอัมพัสถลเจดีย์มีศาสนสถานสำคัญเรียกว่า “ โขดหินอาราธนา ( สุมนคะละ ) ” กล่าวกันว่าก่อนแสดงธรรมเทศนาโปรดกษัตริย์ลังกาและข้าราชบริพาร พระมหินทเถระแนะนำให้สมุนสามเณรอรหันต์ขึ้นไปป่าวประกาศให้ทวยเทพเทวดามาฟังธรรม ถัดจากอัมพัตถเจดีย์ต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 739 ขั้นจึงจะถึง “ มหาแสยเจดีย์ ” เชื่อกันว่าเป็นสถานที่พระมหินทเถระย่างเหยียบผืนเกาะลังกาเป็นครั้งแรก ต่อมากลายเป็นหนึ่งในโสฬสบุณยสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวลังกา ภายในประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าและพระอัฐิธาตุของพระมหินทเถรเจ้า มีความสูงวัดได้ 15 เมตร วัดขนาดโดยรอบ 41 เมตร บริเวณลานรอบพระเจดีย์เป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นตัวเมืองเก่าอนุราธปุระและบริเวณโดยรอบ

พระมหินทเถระ พระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา แก่พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่เพิ่งเสวยราชสมบัติ เป็นครั้งแรกที่เขา มหินตาเลในปี พ.ศ. 236

ดังความตอนหนึ่งใน พระวินัย ปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ กล่าวไว้ดังนี้

"...เวลานั้น ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพ เสด็จเข้าไปหาพระมหินทเถระ แล้วได้ตรัสคำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ! พระเจ้ามุฏสีวะ สวรรคตแล้ว, บัดนี้ พระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราชเสวยราชย์แล้ว, และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงพยากรณ์องค์ท่านไว้แล้วว่า ในอนาคต ภิกษุชื่อมหินท์ จักยังชาวเกาะตัมพปัณณิทวีปให้เสื่อมใส ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! เพราะเหตุดังนั้นแล เป็นกาลสมควรที่ท่านจะไปยังเกาะอันประเสริฐแล้ว แม้กระผม ก็จักร่วมเป็นเพื่อนท่านด้วย..."

ความอีกตอนหนึ่งใน พระวินัย ปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ กล่าวว่า

"...พระเถระรับคำของท้าวสักกะนั้นแล้ว เป็น ๗ คนทั้งตน เหาะขึ้นไปสู่เวหาจากเวทิสบรรพต แล้วดำรงอยู่บนมิสสกบรรพต ซึ่งชนทั้งหลายในบัดนี้จำกันได้ว่า เจติยบรรพตบ้าง ทางทิศบูรพาแห่งอนุราชบุรี..."

"...พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวไว้ว่า พระเถระทั้งหลายพักอยู่ที่เวทิสคิรีบรรพตใกล้กรุงราชคฤห์ สิ้น ๓๐ ราตรีได้ดำริว่า เป็นกาลสมควร ที่จะไปยังเกาะอันประเสริฐ, พวกเราจะพากันไปสู่เกาะอันอุดม ดังนี้ แล้วได้เหาะขึ้นจากชมพูทวีปลอยไปในอากาศดุจพญาหงส์บินไปเหนือท้องฟ้าฉะนั้น, พระเถระทั้งหลายเหาะขึ้นไป แล้วอย่างนั้นก็ลงที่ยอดเขาแล้ว ยืนอยู่บนยอดบรรพต ซึ่งงามไปด้วยเมฆ อันตั้งอยู่ข้างหน้าแห่งบุรีอันประเสริฐราวกะว่า หมู่หงส์จับอยู่บนยอดเขาฉะนั้น..."

เมื่อครั้งพระมหินทเถระและคณะได้เดินทางเป็นสมณฑูตเผยแพร่พระพุทธศาสนามาที่เกาะลังกานั้นมีความในอรรถกถาแสดงไว้ว่า เดิมนั้นมีพวกนาค   ยักษ์ รากษส พากันอาศัยอยู่ซึ่งมี ก คำว่า นาค ยักษ์ รากษส นั้น น่าจะหมายกลุ่มคนที่อาศัยในที่ต่างๆคือ นาค อยู่ใกล้แม่น้ำ มหาสมุทร  ยักษ์คือคนที่ดำรงชีพอยู่ป่าและรากษสคือพวกที่อยู่บนภูเขา เมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่ในอินเดียนั้นเกาะลังกายังมีความเชื่อในการนับถือทะเลมหาสมุทร ต้นไม้ ภูเขา ดังนั้นเมื่อพระมหินทเถระ ได้แสดงธรรมครั้งแรกจึงแสดงเปตวัตถุ ชี้ให้เห็นกรรมชั่ว และผลของกรรมชั่วที่ทำให้เกิดเป็นเปรตลักษณะต่างๆ และวิมานวัตถุ อันเป็นผลของกรรมดี ที่ส่งผลให้เกิดเป็นเทพดาในวิมานต่างๆจนทำให้ชาวเกาะลังกาได้บรรลุธรรมคือรู้ความจริงด้วยเหตุผลเป็นอันมาก

ถ้ำสำหรับเป็นที่พักของพระเถระ

วัดมหินทร์ตะเลนี้ตั้งอยู่บนเขาสามารถขึ้นไปสะดวกด้วยมีบันไดหินทอดยาวและต้นลีลาวดี ( ภาษาสิงหลเรียกว่า ต้นอะละริยะ )เรียงรายอยู่สองข้างไปจนถึงลานกว้างที่ตั้งของวัดบนยอดเขาตลอดเส้นทางขึ้นนั้นมีโบราณสถาน พระธาตุเจดีย์  ตั้งอยู่เป็นระยะถึง ๓ ช่วงเช่น วิหารกรณียเมตตาสูตรที่มีการจารึกอักษรภาษาสิงหลอยู่บนแท่งศิลารอบวิหาร  และลานศิลาภาษาพราหมียุคปลายก่อนใช้ภาษาสิงหล สุดทางขึ้นนั้นเป็นลานวัด อันมีอัมพัตถลเจดีย์ตั้งอยู่เดิมนั้นเป็นสถานที่พระมหินทเถระและพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะได้พบกันเป็นครั้งแรก พระเจดีย์องค์นี้บรรจุพระอัฐิธาตุของพระมหินทเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์และเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ออกบวชเป็นสมณฑูตเผยแพร่พระพุทธศาสนามายังทวีปลังกาเมื่อ พ.ศ.๒๙๓หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วมากว่า

พระธาตุเจดีย์ในสภาพแรกพบ

ดังนั้นวัดมหินทร์ตะเลจึงเป็นวัดพุทธศาสนาแห่งแรกและเป็นปูชนียสถานสำคัญอย่างที่เกิดขึ้นในเมืองสำคัญของไทยเช่นเดียวกับวัดในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่อยู่นอกตัวเมืองหรือเขตอรัญวาสีที่รู้จักกัน บนยอดเขาอีกด้านหนึ่งมีพระเจดีย์ใหญ่สำคัญประดิษฐานพระอุณาโลม (กระดูกหน้าผาก) ของพระพุทธเจ้าตั้งอยู่ ณที่นี้มองเห็นเขามอพระมหินทร์เถระอันเป็นสถานที่พระมหินทเถระและคณะพระสมณทูตจากอินเดียนัยว่าเหาะมาลงบนก้อนหินก้อนนี้ครั้งแรกแล้วจึงลงมาพบกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะที่บริเวณอัมพัตถลเจดีย์ด้านล่าง  วัดนี้ได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุขนาดเล็ก ๒ องค์และพระธาตุอัฐของพระมหินทร์เถระและพระเถระอื่นๆ พร้อมด้วยเครื่องทองคำ เป็นพระเจดีย์ พระพุทธรูป ขนาดเล็กและสถูปชั้นนอกทำด้วยหินศาลามีฝาปิด      สถานที่แห่งนี้คือจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่พระมหินทเถระได้สถาปนาขึ้น พระมหินทร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราชและพระนางเวทิสาเทวี บุตรีแห่งมหาเศรษฐีชาวแคว้นอวันตี ซึ่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสืบพระศาสนาภายใต้การดูแลของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระพระเภราจารย์นักปราชญ์ผู้ทำหน้าที่เป็นประธานสงฆ์สังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่๓ ณ เมืองปาฏลีบุตร ต่อมาได้รับมอบหมายจากพระอุปัชฌาย์และพระราชบิดาให้เป็นสมณทูตนำคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเผยแผ่แลประดิษฐานที่ลังกาทวีปและตั้งวัดมหินตะเลขึ้น ต่อมาพุทธศาสนาลังกาวงศ์ได้เผยแพร่มายังเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองสุโขทัยตามหลังพระโสณเถระและพระอุตรเถระที่เดินทางเข้ามาก่อนแล้ว 

thepudomdham brand logo
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai
© 2024 เทพอุดมธรรม ทราเวล
TAT LICENSE