โปโลนนารุวะ ราชธานีแห่งที่สองของเกาะลังกา

โปโลนนารุวะ ราชธานีแห่งที่สองของศรีลังกา

หลังจากได้ชัยชนะเหนือเมืองอนุราธปุระ ราชวงค์โจฬะแห่งอินเดียใต้ ได้สถาปนาโปโลนนารุวะ เป็นราชธานี ในปลาย ศต.ที่ 10 ต่อมาในปี 1070 พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 กษัตริย์แห่งสิงหล เห็นว่าลังกาตกอยู่ในสภาพที่ถูกรุกรานระส่ำระสาย ก็ทรงรวบรวมกำลังชาวลังกาทั้งหมด ให้ผนึกกำลังกัน สูรบกับชาวต่างชาติ จนสามารถขับไล่ราชวงค์โจฬะออกไปได้อย่างราบคาบ ในปี 1070 หลังได้ชัยชนะพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 ยังคงรักษาโบโลนนารุวะเป็นราชธานีต่อไป เพราะเห็นว่ามีทำเลที่ตั้งดีตามจุดยุทธศาสตร์

โบโลนนารุวะจึงเป็นเมืองหลวงเก่าแก่อย่างต่อเนื่องมาเกือบ 200 ปี (ปี 1056 - 1236) นับแต่เริ่มการปกครองของราชวงค์วิชัยพาหุที่ 1 (ปี 1056-1187) โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช (Parakramabahu I - ปี 1153 - 1186) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1  ได้ยึดครองอาณาจักรโบโลนนารุวะได้ทั้งหมด ทรงพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านศาสนา  ด้านอารยธรรม การก่อสร้าง การวางผังเมือง การชลประทาน ซึ่งสุดยอดของความสำเร็จ คือ การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาด 2,400 เฮกตาร์ (240 ตร. กม.) เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มาก จนได้ชื่อว่า

ท้องทะเลของพระเจ้าปรากรมปาหุที่ 1

Parakrama Samudra (Sea of Parakrama - ท้องทะเลแห่งพระเจ้าปรากรมพาหุ) 

พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช

ทรงเป็นกษัตริย์มหาราชที่นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่อาณาจักรอย่างมาก จนเป็นดั่งศูนย์กลางทางการค้า การเกษตร และยังเป็นยุครุ่งเรืองแห่งศาสนาอีกด้วย ถือเป็นยุคทองของศรีลังกาที่ทำให้โบโลนนารุวะรุ่งเรืองสูงสุด 

อีกราชวงค์ที่สำคัญคือ พระเจ้าพระเจ้านิสสังกมัลละ (Nissanka Malla) (กษัตริย์ในราชวงค์กะลิงคะ ปกครองโบโลนนารุวะต่อจากพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1  ระหว่าง คศ. 1187-1196 )

พระเจ้าพระเจ้านิสสังกมัลละ

พระเจ้าพระเจ้านิสสังกมัลละ ภาพปูนปั้นที่วัดถ้ำดัมบุลลา

ผู้นำความเจริญมาสู่อาณาจักรโบโลนนารุวะ สถาปัตยกรรมที่สร้างในสมัยพระองค์ เช่น พระราชวัง, วิหาร Hatadage และเจดีย์รังโกต (Rankot Vihara)  ตกแต่งซ่อมบำรุงเจดีย์ - วิหารเก่า นอกจากส่งเสริมศาสนาพุทธ ทางการเมืองพระองค์รักษาสัมพันธ์ภาพกับประเทศต่าง  ๆ  และยังยกทัพไปถึงแคว้น ปาณฑยะ (Pandyan) และโจฬะ (Chola) ในอินเดียใต้ด้วย

หลังจากนั้นอาณาจักรโบโลนนารุวะถูกปกครองโดย ราชวงค์อิื่น ๆ อีก 7 ราชวงค์ (ระหว่างปี 1197 - 1215 ) ภายหลังถูกทหารทมิฬ้เข้ามาทำลายอีก ตกเป็นฝ่ายรับมือข้าศึกจนไม่เป็นอันพัฒนาบ้านเมือง จนเรียกได้ว่าเป็นจุดจบของโปโลนนารุวะ .. มีกษัตริย์องค์สุดท้าย คือ  ราชวงค์กะลิงคะ (ปี 1215 - 1236) จากอินเดียเข้ามารุกราน และต้องการที่จะปกครองทั้งเกาะ ทำให้อาณาจักรโบโลนนารุวะล่มสลาย ชาวสิงหลจำนวนมากอพยพไปยังดินแดนทางใต้ และทางตะวันตกของเกาะ ส่วนราชวงค์กะลิงคะก็ไม่สามารถที่จะครอบครองเกาะทั้งหมดได้ ก็ไปตั้งอาณาจักรจัฟฟนา (Jaffna Kingdom)  ทางเหนือของเกาะ และเป็นการเริ่มต้นของราชวงค์กะลิงกะ  ส่วนอาณาจักร Damadeniya ก็ตั้งขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 3 ราวปี 1220 

แม้ห้วงเวลาจะผ่านไปถึง เกือบ 800 ปี ความรุ่งเรืองของอาณาจักรโบโลนนารุวะในอดีต ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน  ภายในพระนครมีหลักฐาน โครงสร้าง เมืองเก่าแก่โบราณมากมาย ทั้งวิหารประดิษฐานพระธาตุเขึ้ยวแก้วที่มีชื่อเสียง พระราชวังโบราณ การพัฒนาชลประทาน เพืี่อการเกษตรและการใช้สอย จุดเด่นของที่นี่ คือ โบราณสถานซากปรักหักพังที่ยังมีเสน่ห์ และความสวยงาม โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่

พระราชวัง เวชยันต์ปราสาท

พระราชวัง (Royal Palace)

มีโครงสร้างที่งดงาม ความกว้าง-ยาววัดได้ 13 X  31 เมตร กล่าวกันว่ามีความสูงถึง 7 ชั้น กำแพงหนาถึง 3 เมตร มีช่องรับแสง เพื่อให้ส่งไปถึงอีก 2 ชั้นที่เหนือขึ้นไป แต่ถ้าหากมีอีก 4 ชั้นขึ้นไปอีก ก็คงเป็นอาคารไม้อาคารโถงหลักนี้มีห้องทั้งหมด 50 ห้อง และมีเสาค้ำยัน 30 ต้น

อาคารว่าราชการ

Royal Court หรือ Audience Hall

เป็นอาคารเด่นแห่งหนึ่ง ที่สร้างโดยพระเจ้าปรากรมพาหุ อยู่ด้านหน้าของพระราชวัง สร้างบนหินขนาดใหญ่ 3 ชั้น ด้านนอกของชั้นแรกเป็นภาพช้างแกะสลักในท่าทางต่าง ๆ กัน ชั้นที่สองเป็นภาพสิงห์โต และชั้นที่สุดท้ายเป็นภาพ Wamana (ไม่ทราบเป็นภาพอะไรแน่ แต่ก็เหมือนภาพคนแคระ หาข้อมูลมีแต่คำว่า Vamana ซึ่งเป็นชาติที่ห้าของพระนารายณ์ ที่เกิดมาเป็นคนแคระ

Royal Court หรือ Audience HallRoyal Court หรือ Audience Hall

ตรงบันไดทางขึ้นเป็นรูปแกะสลักสิงห์โต 2 ตัว ที่สวยงาม อาคารมีเสาแกะสลักถึง 48 ต้น เรียงรายเป็น 4 แถว เพื่อค้ำยันหลังคา

สระน้ำของเจ้าชาย

Kumara Pokuna หรือ Prince's Bathing Pool สระน้ำของเจ้าชาย

อาคารประดิษฐานพระธาตุเขี้ยวแก้ว วฏะดาเก

วิหารวฏะทาเค วิการทรงกลมประดิษฐานพระบรมธาตุเขี้ยวแก้ว

'วิหารวฏะทาเค' ในภาษาสิงหลแปลว่า วัด วิหารนี้สร้างเป็นวงกลม 2 ชั้น ตั้งอยู่เหนือลานหิน ชั้นบนมีเจดีย์อยู่ตรงกลาง รายล้อมทั้ง 4 ทิศ ด้วยพระพุทธรูปปางสมาธิองค์เจดีย์ทำด้วยอิฐ และหินมีการสลักลวดลายอย่างงดงาม ประกอบอยู่บนฐาน และผนังเป็นลายสิงโต คนเเคระ ดอกไม้ และพันธ์พฤกษาต่างๆสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้านิสสันกมัลละ (Nissankamalla) ราวปี พ.ศ. 1730-1739 เพื่อใช้เป็นสถานที่ฟังพระสงฆ์สวดพระปริตรกล่าวกันว่า 'วิหารวฏะทาเค' นี้มีความงดงามที่สุดในศิลปะแบบโปลอนนารุวะ ที่ขึ้นชื่อว่ายุคทองศิลปะลังกา

ทวรบารทวารบาร

ทวารบาล หมายถึง ผู้รักษาประตูหรือทางเข้าออก มักเป็นรูปนักรบหรือยักษ์ที่ดูน่ากลัว โดยมากมักถืออาวุธ โดยมีการสร้างรูปปั้นทวารบาลอันเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทั้งในวัฒนธรรมฮินดู พุทธและเชน

มูนสโตนมูนสโตน

มูนสโตน หรืออัฒจันทร์ศิลา คือแผ่นหินแกะสลักมีลักษณะครึ่งวงกลม เป็นงานสถาปัตยกรรมแบบศรีลังกา พบเห็นอยู่ที่บริเวณฐานทางขึ้นบันไดของปราสาทหิน หรือโบราณสถานสำคัญของศรีลังกา

ยุคสมัยแรกของโบราณสถานในพุทธศาสนาของศรีลังกาอยู่ที่เมืองอนุราธปุระ มีเจดีย์ขนาดใหญ่สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7- 8 อย่างเช่น มหาสถูปหรือรุวัลเวลิเสยะแห่งมหาวิหาร เชตวันสถูป สถูปอภัยคีรี ด้านหน้าทางขึ้นตรงบันไดเข้าสู่โบราณสถาน เราจะเห็นมูนสโตนปรากฏอยู่เสมอ

หรือจะเป็นเมืองโปโลนนารุวะในยุคสมัยต่อมา ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีความแตกต่างออกไป สถูปมีขนาดเล็กลง และยังมีรูปแบบใหม่ที่สวยงามแปลกตา อย่างเช่น วฏทาเค ที่ตั้งอยู่ตรงลานกลางเมืองโบราณโปโลนนารุวะ ลักษณะมีลานยกพื้น 2 ชั้นตรงกลางมีสถูปขนาดเล็ก โดยรอบสถูปมีแท่นประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่โดยรอบ ก่อนทางขึ้นตรงบันไดเห็นแผ่นหินครึ่งวงกลมที่เรียกว่ามูนสโตน

ครั้นเมื่อพิจารณาภาพแกะสลักในมูนสโตน จะเห็นลวดลายวงด้านนอกเป็นรูปสัตว์สี่ชนิดคือ ช้าง ม้า โค สิงห์ แถวถัดมาเป็นหงส์ ส่วนวงตรงกลางเป็นลายพรรณพฤกษา มีการสันนิษฐานว่าลวดลายของมูนสโตน อาจจะเป็นสัญลักษณ์ของสระอโนดาต ซึ่งเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ในป่าหิมพานต์ โดยสระอโนดาตจะไหลออกจากปากของสัตว์ 4 ชนิดซึ่งประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ กลายเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 4 สาย ส่วนดอกบัวและหงส์ซึ่งอยู่วงด้านในอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของสระอโนดาต การที่มูนสโตนอยู่บริเวณหน้าบันไดทางขึ้นโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ ย่อมหมายถึงการชำระล้างร่างกายให้สะอาด ในความหมายของการเดินเข้าศาสนสถาน น่าจะหมายถึงการชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งทางกายและทางใจ

อีกหนึ่งการสันนิษฐาน ได้ตีความว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ช้างหมายถึงการเกิด โคคือความแก่ สิงห์คือการเจ็บป่วย และม้าคือการตาย ส่วนวงถัดมาคือหงส์คือความมีสติ รู้ความถูกผิด ส่วนตรงกลางเป็นดอกบัวคือสัญลักษณ์ของการหลุดพ้น

ถูปารามถูปารามถูปาราม

วิหารถูปาราม (Thuparama) ไม่ทราบว่าผู้ใดสร้าง แม้จะเป็นวิหารเล็ก ๆ แต่เรียกได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมของโบโลนนารุวะ ที่ถึงจุดที่สมบูรณ์สูงสุด 

มีความแข็งแรงและสวยงาม เป็นวิหารเดียวที่ยังมีหลังคารูปโค้งแบบกระทะคว่ำอยู่  รูปแบบวิหารแสดงถึงอิทธิพลของศาสนาฮินดู ผนังก่อด้วยอิฐ ความหนาถึง 2.10 เมตรยอดของอาคารประดับตกแต่งด้วยลวดลายดอกบัว

ภายในค่อนข้างมืด มีพระพุทธรูปสลักหินอยู่หลายองค์ (มีเจ้าหน้าที่มาส่องเทียนให้ จะเห็นแสงระยิบระยับสะท้อนมาจากรูปพระพุทธเจ้า)

ฮาตะดาเก

"Hatadage" (ฮาตะทาเค) เคยเป็นที่ประดิษฐานพระเขึ้ยวแก้ว สร้างในสมัยพระเจ้านิสสังกมัลละ มีกำแพงหินล้อมรอบ

ศิลาจารึกศิลาจารึก

ศิลาจารึก Gal Pota (คัลโปตะ) เป็นจารึกบนแผ่นหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ที่สุดในศรีลังกา เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงของพระเจ้านิสสังกมัลละ  จารึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์เอง การปกครอง และความเหมาะสมของพระองค์ที่จะเป็นกษัตริย์ของศรีลังกา ศิลาจารึก มีความยาว 8.20 เมตร กว้าง 1.40 เมตร และมีความหนาตั้งแต่ 40 - 66 ซม. น้ำหนัก 25 ตัน และนำมาจากเมือง Mahiyangana บนศิลาจารึกมีข้อความทั้งหมด 3 แถว 72 บันทัด และตัวอักษรมากกว่า 4,300 ตัวอักษร

นิสสังกลตามณฑป

Nissanka Latha Mandapaya - นิสสังกลตามณฑป  โดยพระเจ้าพระเจ้านิสสังมัลละ แม้มีขนาดเล็ก แต่ก็มีโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ เสาหินด้านนอกมีลักษณะแบบขัดแตะแนวตั้ง- แนวนอน เหมือนเลียนแบบรั้วไม้  ส่วนเสาหินภายในสลักเป็นรูปก้านดอกบัว ด้านบนเป็นรูปดอกบัวแย้ม บริเวณตรงกลางมีพระเจดีย์เล็ก ๆ ตั้งอยู่ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระเจ้าพระเจ้านิสสังกมัลละ เสด็จมาฟังพระภิกษุสวดพระพุทธวจนพระพุทธเจ้า

อตะคาเท

Atadage - อตะคาเท หมายถึงวิหารของพระเขี้ยวแก้ว 8 องค์  เคยเป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วของเมืองโบโลนนารุวะ บางครั้งจึงเรียกว่า "วิหารพระเขี้ยวแก้ว" สร้างโดยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 ภาพบนเสาหินทำเป็นลวดลายเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งที่สวยงามที่สุดในวิหารนี้  โครงสร้างชั้นบนเป็นไม้ซึ่งพังไปหมดแล้ว

ศิวะเทวาลัยศิวะเทวาลัย

ศิวะเทวาลัย 1 และ 2 เป็นเทวาลัยฮินดู อยู่ในช่วง ศต. ที่ 13 แสดงถึงอิทธิพลของอินเดียอีกครั้ง หลังความรุ่งเรืองถึงขีดสุดของโปโลนนารุวะ ลักษณะเด่นที่สุดคือ ความประนีตของงานหิน ที่สามารถต่อเข้ากันได้อย่างสนิทแม้จะมีรูปทรงต่างกัน ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบปาณฑยะ

รังโกตวิหาร

Rankot Vihara (เจดีย์รังโกต)   หมายถึง เจดีย์ที่มียอดเป็นทองคำ สร้างโดยพระเจ้านิสสังกมัลละ เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโบโลนนารุวะ และเป็นอันดับ 4 ในศรึลังกา มีึความสูงประมาณ 55 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 188 เมตร รูปทรงบาตรคว่ำ หรือทรงฟองน้ำ แบบเดียวกับเจดีย์รุวันเวลิที่เมืองอนุราธปุระ 

กัลวิหารกัลวิหารกัลวิหารกัลวิหาร

กัลวิหาร : แปลว่า วิหารหิน หรือ อารามหิน เดิมชื่อ อุตตราราม สร้างโดยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ใน พ.ศ. 1696 – 1729 เป็นวิหารที่สลักบนวิหารหินแกรนิต โดยสลักเป็นพระพุทธรูป 4 องค์เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน

• องค์แรก เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ มีขนาดใหญ่ ขัดสมาธิราบ ครองจีวรริ้ว เป็นริ้วคู่ขนานกันเป็นคู่ๆ ที่ฐานของพระพุทธรูปสลักเป็นรูปสิงห์นั่งสลับกับวัชระหรือสายฟ้า ด้านหลังของพระพุทธรูปสลักเป้นภาพอาคารเลียนแบบเครื่องไม้ มีตัวมกรและอาคารย่อส่วนขนาดเล็กวางซ้อนกันขึ้นไป

• องค์ที่สอง เป็นพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ มีขนาดเล็กกว่าองค์แรกสลักไว้ในถ้ำที่ขุดเจาะเข้าไปในภูเขา ประทับนั่งอยู่บนบัลลังก์ มีเทวดาอยู่ทั้งสองข้าง พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ พระพุทธรูปประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายแบบปาละ

• องค์ที่สาม พระพุทธรูปประทับยืนในท่าที่ใช้พระหัตถ์ทั้งสองขึ้นไขว้กันในระดับพระอุระ(หน้าอก) ที่เรียกว่า ”พระพุทธรูปปางรำพึง” มีความสูงถึง 7 เมตร

• องค์ที่สี่ สลักเป้นพระพุทธรูปนอน ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน สลักจากภูเขา มีขนาดใหญ่กว่าองค์อื่น มความยาวถึง 14 เมตร ทรงประทับนอนตะแคงขวา วางพระกรราบ พระเศียรหนุนอยู่บนพระเขนย(หมอน) รูปทรงกระบอกยาว พระกรงอเข้าหาลำตัว พระหัตถ์ขวาวางราบบนพื้น พระหัตถ์ซ้ายวางราบไปกับลำตัว ปลายพระบาททั้งสองข้างสนิทกันซ้อนพอดี

เดิมมีวิหารก่ออิฐปกคลุ่มอยู่โดยรอบพระพุทธรูปทั้ง 4 องค์ มีร่องรอยของอาคารปรากฏอยู่ เป็นแนวฐานก่อด้วยอิฐ

วิหารติวังกะวิหารติวังกะ

วิหารติวังกะ  เป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุด และเป็นอาคารที่ยังคงเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง ในบริเวณอารามเชตวัน สร้างโดยพระเจ้าปรากรมพาหุ (คศ. 1153-1186)  คำว่า "Thivanka" หรือ "ตริภังค์"  แปลว่า "โค้งสามส่วน หักสามส่วน หรือ งอสามส่วน หมายถึงประติมากรรมที่แสดงการยืนโดยเอียงคอ หรือ งอ 3 ส่วน คือ คอ ไหล่ และสะโพก" การเอียงท่านี้ คอกับสะโพกจะเอียงไปในทิศทางตรงกันข้าม ทำให้ลำตัวพริ้วไหวดูสวยงาม ซึ่งปกติเฉพาะภาพแกะสลักสตรีเท่านั้น   เนื่องจากพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็นพระพุทธรูปยืนด้วยอาการตริภังค์  ที่จะมีลักษณะโค้งเช่นนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อวิหารติวังกะ  

ตัววิหารก่อสร้างด้วยอิฐมีความยาว 133 ฟิต กว้าง 67.6 ฟิต กำแพงมีความหนา 7 - 12 ฟิต จึงทำให้ภายในดูคับแคบลงไปมาก ภายนอกของวิหาร มีลักษณะเด่นที่ภาพปูนปั้น เป็นรูปคนแคระกับสิงห์โตจำนวนมาก  ส่วนใหญ่แสดงท่าที่เป็นธรรมชาติ ทางด้านทิศเหนือมีภาพเทวดา แสดงอาการอมยิ้มอย่างมีเมตตา บางส่วนของวิหารติวังกะได้รับการซ่อมแซมในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 3

ภาพเขียนสีเฟรสโก้

 ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเทคนิคเฟรสโก (Fresco หมายความว่า "สด" คือการเขียนสีลงปูนเปียก เมื่อปูนแห้ง สีก็จะผนึกลงเป็นเนื้อเดียวกันกับปูน ทำให้สีติดทนทาน และสดใส)  เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึง ประทับบนบันได้ด้วยอาการตริภังค์ มีกรดกั้น  รวมถึงภาพเทพชุมนุม ซึ่งทรงเครื่องประดับตกแต่ง ทั้งศิราภรณ์ (มงกุฏ) กรองศอ (แถบกว้างโค้งไปตามลำคอ) พาหุรัด (ทองต้นแขน)  และทองกร (กำไลมือ)  

thepudomdham brand logo
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai
© 2024 เทพอุดมธรรม ทราเวล
TAT LICENSE