สิกิริยา พระราชวังลอยฟ้า

พระราชวังลอยฟ้า สิกิริยา

สิกิริยา มีประวัติความเป็นมายาวนาน นับตั้งแต่พุทธปรินิพพานได้ 277 ปี พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ได้เสด็จประพาสและตั้งชื่อภูเขาแห่งนี้ว่าสีหคีรี ซึ่งแปลว่า เขาสิงห์ ต่อมาใน พ.ศ.440-454 พระเจ้าปุลหัตถะได้สร้างป้อมพร้อมศาลาโรงธรรมไว้ที่นี่ ในรัชสมัยของพระเจ้าพาหิยะได้สืบทอดเจตนารมณ์ของพระราชบิดาโดยการสร้างโรงทานสำหรับพระภิกษุ จนมาถึงในรัชสมัยพระเจ้ากัสสปะ พ.ศ.1020 ได้ทรงสร้างสีหคีรีนี้เป็นป้อมปราการและเป็นพระบรมมหาราชวังด้วย

• การที่จะสร้างให้สิกิริยาเป็นราชธานนี้ มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าธาตุเสน ราชธานีของพระองค์อยู่ที่อนุราชปุระ พระองค์มีพระราชประสงค์จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่มีอำนาจทั้งฟ้าและดิน จึงต้องหาที่สร้างวังบนยอดเขา ต่อมาเจ้าชายกัสสปะพระราชโอรสผู้ประสูติจากมเหสีฝ่ายซ้ายซึ่งเป็นหญิงสามัญชน ได้ยึดอำนาจการปกครองจากพระเจ้าธาตุเสน ทำให้เจ้าชายโมคคัลลาน์ รัชทายาทซึ่งประสูติจากสมเด็จพระราชินีต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศอินเดีย

• หลังจากเจ้าชายกัสสปะ ได้จับพระราชบิดาขังคุกแล้วโบกปูนปิดทับทั้งที่ยังมีพระชนม์ชีพ จากนั้นก็สถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงไม่โปรดที่จะครองราชย์อยู่ที่อนุราธปุระ ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่สิคีริยา ใช้เวลาในการสร้างนาน 7 ปี

• พระเจ้ากัสสปะครองราชย์อยู่นาน 18 ปี ก็ถูกเจ้าชายโมคคัลาน์ พระอนุชาต่างพระมารดา ยกทัพมาจากประเทศอินเดียมาชิงพระราชบังลังก์คืน ทรงล้อมสีหคีรีไว้แน่นหนา พระเจ้ากัสสปะไม่มีทางสู้ จึงตัดสินพระทัยปลิดพระชนม์ชีพพระองค์เองในพระราชวังบนขุนเขาแห่งนี้

• สิกิริยา เป็นอนุสรณ์สถานของคนบาป ลูกฆ่าพ่อเพื่อชิงราชบัลลังก์ ทั้งๆ ที่พระเจ้าธาตุเสนเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชหฤทัยดี มีเมตตา เป็นที่ยกย่องของข้าราชบริพารและพสกนิกรของพระองค์

• เวลาผ่านไป ขุนเขาสีหคีรีก็ถูกทอดทิ้งเป็นเมืองร้างนานนับศตวรรษ ต้นไม้ใบหญ้าขึ้นปกคลุมเป็นป่ารกชัฏ เต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์นานาชนิด ล่วงมาจนถึงศตวรรษที่ 19 พันเอกเบส ฟอร์เบส นายทหารอังกฤษได้เป็นผู้ค้นพบความลับในป่าลึก เขาได้บันทึกถึงสภาพแวดล้อมของสีหคีรีไว้อย่างละเอียด แต่ก็ไม่สามารถคลำทางไปจนถึงยอดของสีหคีรีได้ ต่อมาในพ.ศ. 1853 อดัมส์และเบเลย์ พร้อมด้วยชาวพื้นเมืองอีก 2 คน ได้ปีนเขาขึ้นไป สำรวจพบภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพชุดแรกที่เขาค้นพบเป็นรูปสิงโต ต่อมาในปี พ.ศ.1875 เดวิดก็พบภาพชนิดเดียวกันทางด้านตะวันตก ภาพเหล่านี้ลบเลือนไปบ้าง กรมศิลป์ฯ แห่งชาติ จึงได้เข้าไปอนุรักษ์ไว้เป็นครั้งแรก

• ในปี พ.ศ. 1876 บัดเลย์ ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างบนเขาแห่งนี้ ได้มีการกล่าวถึงทางขึ้นทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งถูกปิดด้วยป่าทึบ มีผู้ค้นพบคูน้ำและป้อมกันภัย ต่อมานายเอช ซี พี เบล อธิบดีกรมโบราคดีได้ค้นพบทางขึ้นด้านตะวันออก โดยจ้างคนไต่เขาขึ้นไปหาภาพเขียนเพิ่มขึ้น เริ่มทางป่ารอบๆ เขา และเริ่มบูรณะจิตกรรมโบราณนี้อย่างจริงจังตั้งแต่ปีพ.ศ. 1894

สิกิริยา (Sigiriya Rock) : มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ พ.ศ. 277 พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะได้เสด็จประพาสบริเวณนี้ และตั้งชื่อภูเขาแห่งนี้ว่า “สีหคีรี” แปลว่าภูเขาราชสีห์หรือสิงโต พ.ศ.440พระเจ้าปุลหัตถะทรงสร้างป้อมเชิงเทิน และศาลาโรงธรรมสำหรับนั่งสมาธิเอาไว้ จนถึงสมัยพระเจ้าพาหิยะ ราชโอรสของพระเจ้าปุลหัตถะ ทรงสร้างโรงทานสำหรับพระภิษุขึ้นเพิ่มเติม สมัยพระเจ้ากัสสปะ ใน พ.ศ.1020 ทรงสร้างสีคีรีนี้ให้เป้นพระราชวังที่ประทับ และป้อมปราการ เพื่อใช้เป็นที่หลบภัยสงคราม ด้วยเหตุผลที่พระองค์ได้จับพระราชบิดาคือ “พระเจ้าธาตุเสน” ขังคุกแล้วโบกปุนปิดทั้งๆ ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ เพราะต้องการขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อโดยเร็ว พระราชวังแห่งนี้เป้นอนุสรณ์สถานของคนบาป ลูกซึ่งฆ่าพ่อเพื่อชิงบัลลังก์ ใช้เวลาในการสร้าง นานถึง 7 ปี ใช้เงินไปประมาณ 70 ล้านเหรียญทอง

พระเจ้ากัสสปะประทับอยู่ที่นี่นานถึง 18 ปี ก็ถูกกองทัพของเจ้าชายโมคคัลลาน์ (พระอนุชาต่างมารดา) ซึ่งยกมาจากอินเดีย เพื่อมาล้างแค้นและแย่งชิงราชบัลลังก์คืน พระเจ้ากัสสปะไมมีทางสู้และขากเสบียงอาหาร จึงปรงพระชนชีพพระองค์เองด้สนดาบ ในพระราชวังบนภูเขาสีคิริยะแห่งนี้

มีคูน้ำกว้างประมาณ 10 เมตร ล้อมรอบทั้ง 4 ด้านของพระราชวัง (แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า) ผ่านกำแพงพระราชวังเข้ามาจะพบสระสรงน้ำขนาดใหญ่ 2 สระเป็นที่ทรงพระสำราญสรงน้ำกับเหล่าพระมเหสีและนางสนม จากนั้นเข้าสู่อุทยานอันงดงาม มีทั้งน่ำพุ น้ำตก สวนดอกไม้ เดินต่อไปจะพบกับก้อนหินขนาดใหญ่ มีแท่นที่ประทับพักผ่อนของกษัตริย์ใต้เพิงหิน มีบันไดทางขึ้นระหว่างซอกหินขนาดใหญ่ ขึ้นไปยังระเบียงหน้าผาของภูเขาสีคิริยะ

• ทางเดินขึ้นชมพระราชวังสิคีริยา สามารถเดินขึ้นบันไดวนทำด้วยเหล็ก ขึ้นไปอีกประมาณ 30 ขั้นจะถึงหลืบถ้ำเล็กๆ มีความยาวราว 6 เมตร มีภาพเขียนสีเฟรสโกของเหล่านางอัปสรอันเลื่องลือ ภาพเขียนจะเขียนเป็นคู่ๆ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ที่ว่าเป็นรูปทางอัปสรเพราะมีอุณาโลมอยู่ระหว่างคิ้วตรงหน้าผาก วาดเพียงครึ่งตัว ตัวเจ้านายนุ่งผ้า แต่ไม่สวมเสื้อ ส่วนบริวารหรือคนรับใช้จะสวมเสื้อหนา เจ้านายจะถือดอกไม้ บริวารจะถือถาดใส่ดอกไม้ มีท่าทางกำลังจะไปบูชาพระหรือเทพยดา ภาพยังคงสีสดใสมาก แม้จะผ่านมาเป็นเวลาร่วม 1,500 ปี มาแล้ว ภาพเขียนเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ถ้ำอชันตา ทางภาคใต้ของอินเดียมาก

• พ.ศ. 2396 นายอดัมส์และนายเบเลย์ กับชาวพื้นเมือง 2 คน ได้ปีนเขาขึ้นไปสำรวจพบภาพจิตรกรรมฝาผนังชุดแรกเป็นรูปสิงโต

• พ.ศ.2418 นายเดวิส ก็พบภาพเขียนเพิ่มเติมในทางด้านทิศตะวันตก และปีต่อมานายบัตเลย์ก้ค้นพบทางขึ้นทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งถูกปิดด้วยป่าทึบ เขาได้พบคูน้ำและป้อมเชิงเทินด้วย

• พ.ศ.2437 นายเอช.ซี.พี.เบล ได้พบทางขึ้นทางด้านตะวันออก เริ่มมีการถางป่าทึบรอบๆเขา และเริ่มบูรณะจิตรกรรมฝาผนัง

• พ.ศ.2442 เซอร์วิลเลี่ยม เกรกอรี่ อดีตผู้ว่าการซีลอนพบจิตรกรรมฝาผนังอีก 30 ภาพ เริ่มมีการเจาะผนังหินฝังเหล็กยึดเพื่อทำสะพานเหล็กลอยฟ้าเชื่อมเป็นทางเดิน

• ด้านซ้ายมือจะเป็นกำแพงกระจก ทำด้วยอิฐฉาบปูนราบเรียบลื่นจนเป็นมันเงา(ทาด้วยสีเหลือง) มีอักษรจารึกที่กำแพงเป็นคติคำสอนในพระพุทธศาสนา ในช่วงเลาบ่ายๆแสงแดดจะสาดส่องสะท้อนสู่ผนังถ้ำกับกำแพงกระจกก่อให้เกิดกำแพงสีเหลืองอร่ามกระจ่างชัด เงางามเต็มทั่วแนวกำแพง

• ด้านหน้าผาจะพบกับเท้าของสิงโตทั้ง 2 ข้างขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐฉาบปูน ตรงกลางทำเป็นบันไดทางขึ้นไปบนยอดสูงสุดของภูเขาสีคิริยา เป็นรูปสิงโตครึ่งตัวในท่าหมอบคลานหันหน้าไปทางทิศเหนือ สำหรับลำตัวและหัวนั้นพังทลายไปแล้ว

• ในสมัยก่อนลานแห่งนี้เป็นที่พักของข้าราชบริพารที่รับใช้ไกล้ชิดพระเจ้ากัสสปะและพระมเหสี ยามค่ำคืนพระองค์จะเสด็จขึ้นไปประทับในพระราชวังบนยอดเขาแต่เพียงลำพังกับพระมเหสีเท่านั้น

• ด้านทิศตะวันออกจะมีพระแท่นประทับทำด้วยหินขนาดใหญ่พบร่องรอยมีหลุมเสารองรับหลังคาของพระเจ้ากัสสปะ สำหรับทอดพระเนตรมหรสพและการละเล่นต่างๆ รวมทั้งทอดพระเนตรลงไปเบื้องล่าง ให้ประชาชนผู้จงรักภักดีได้เข้าเฝ้า

โบราณสถานอันยิ่งใหญ่นี้ ได้รับการยกย่องว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก

• ในปัจจุบันได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก (Word Heritage) อีกแห่งหนึ่งในศรีลังกา ในปี 2525 พร้อมกับเมืองอนุราชปุระและโปโลนนารุวะ

• พระเจ้ากัสสปะกษัตริย์แห่งอนุราชปุระทรงมีชื่อเสียงในความเป็นศิลปิน ทรงสร้างสีคิริยะขึ้นบนก้อนหิน ที่เชื่อกันว่าเป็นที่สิงสถิตของ “คูเวรา” เทพเจ้าแห่งความมั่นคง

• ประตูสิงห์ : ทางเดินของท้ายภูเขาทางทิศเหนือ มีลานที่เป็นต้นกำเนิดของชื่อสิกิริยา (ภูเขาหิน) ครั้งหนึ่งภูเขานี้เคยเป็นรูปสลักหินสิงโตยักษ์ และมีทางขึ้นไปยังยอดเขาอยู่ตรงระหว่างอุ้งเท้าของสิงโตที่อ้าปาก ปัจจุบันเหลือเพียงอุ้งเท้าสิงโตที่ยังปรากฎให้เห็น เล็กแต่ละเล็บของอุ้งเท้าสิงโต มีขนาดยาว 7-8 ฟุต ซึ่งสามารถบอกได้ว่ารูปสลักเดิมเคยมีขนาดใหญ่แค่ไหน

thepudomdham brand logo
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai
© 2024 เทพอุดมธรรม ทราเวล
TAT LICENSE