พระทันตธาตุ หรือพระธาตุเขี้ยวแก้ว คือส่วนแห่งพระบรมสารีริกธาตุในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าขานถึงพระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ องค์แรกอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ องค์ที่สองอยู่ที่บาดาล พญานาคนำไป องค์ที่สามอยู่ที่แคว้นคันธาละ ซึ่งขณะนี้คือ ดินแดนของปากีสถาน ต่อมาพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ได้หายสาบสูญไป คาดว่าได้ถูกนำไปไว้ที่ประเทศจีน ส่วนพระเขี้ยวแก้วองค์ที่สี่ อยู่ที่ประเทศศรีลังกา
ตามประวัติศาสตร์ของศรีลังกา พระธาตุเขี้ยวแก้ว เคยประดิษฐานที่เมืองอนุราธปุระ เมืองหลวงแห่งแรกของศรีลังกา เมื่อปีพุทธศักราช 844-871 ต่อมาเมื่อมีการย้ายเมืองหลวงไปที่โปโลนารุวะ ซึ่งเป็นยุคทองของพุทธศาสนา พระเขี้ยวแก้วก็ได้ย้ายมาประดิษฐานที่นี่ วัดพระเขี้ยวแก้ว เป็นวัดที่สำคัญที่สุด ของเมืองโปโลนารุวะ ตั้งอยู่บนฐานสูง ประกอบไปด้วยกลุ่มอาคารหลายหลัง เช่นวิหารหาตะทาเค เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วในพระนคร วิหารอัฎทาเค วิหารพระเขี้ยวแก้วหลังแรกของโปโลนารุวะ และวัฎทาเค เป็นวิหารเจดีย์ทรงกลม 2 ชั้น ภายในมีพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ และพระพุทธรูปปางสมาธิทั้ง 4 ทิศ นับเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามที่ของยุคทองศรีลังกา
ปัจจุบันพระเขี้ยวแก้ว ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ ราชธานีแห่งสุดท้ายของศรีลังกาก่อนที่ถูกอังกฤษเข้ายึดครอง ในปี คศ.1815 เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา วัดตั้งอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ล้อมรอบด้วยปราการและคูน้ำ พระทันตธาตุ หรือพระเขี้ยวแก้ว คือ ฟันเขี้ยวเบื้องล่างด้านซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเขี้ยวแก้ว บรรจุอยู่ในกล่องงาข้างฝังอัญมณีหุ้มทอง เจดีย์แก้ว เจดีย์ทองอีก 7 ชั้น ตั้งอยู่ในห้องกระจำกันกระสุน มีการอารักขาอย่างรัดกุม จะเปิดให้นมัสการต้องมีกรรมการ 3 คน แต่ละคนถือกุญแจคนละดอก มาพร้อมกันจึงจะเปิดได้ โดยจะเปิดให้นมัสการเช้ามืด กลางวัน และตอนค่ำ วันละ 3 เวลา โดยมีชาวพุทธจากทั่วโลกเดินทางมาสักการะจำนวนมาก
เมืองแคนดี้ ยังมีสถานะเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับ เมืองอยุธยา ในฐานะเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของทั้งสองประเทศ และต่างเคยรุ่งเรืองด้านพระพุทธศาสนามาก่อน การส่งพระธรรมทูตนำโดย พระอุบาลี เจ้าอาวาสวัดธรรมาราม จากอยุธยา ไปประกอบพิธีบรรพชา และอุปสมบทให้สามเณร สะระณังกรและคณะเมื่อ 260 ปีที่แล้ว และมีการก่อตั้งลัทธิสยามวงศ์ในศรีลังกา
ในวาระครบรอบ 260 ปีความสัมพันธ์ด้านพุทธศาสนาไทย ศรีลังกา เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว รัฐบาลไทยมอบทุนเรียนพุทธศาสนาแก่ชาวศรีลังกา 260 ทุน ภายใน 3 ปี และวางแผนปรับปรุงพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพุทธประวัติของไทยในพิพิธภัณฑ์พุทธศาสนานานาชาติของศรีลังกา ขณะที่ศรีลังกาได้มีโครงการส่งเสริมการบิณฑบาตที่ได้สูญหายไปจากศรีลังกา โดยเริ่มโครงการในวันพระใหญ่ ที่เรียกว่า โปยา มีการนิมนต์พระสงฆ์จากไทย 26 รูปจากไทย มาเพื่อฉลอง 260 ปีสยามวงศ์ เป็นการเฉลิมฉลองซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากชาวศรีลังกา
คัมภีร์ระบุไว้ว่าได้มีการนำไปประดิษฐานที่ต่างๆ ดังนี้
1. พระอรุณหิศ (กรามหน้า) ประดิษฐานที่เมืองอนุราธปุระ
2. พระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ประดิษฐานอยู่ที่ทุสสเจดีย์บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
3. พระรากขวัญเบื้องขวา ประดิษฐานอยู่ที่พระเกศจุฬามณีเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
4. พระขี้ยวแก้วเบื้องล่างขวาประดิษฐานอยุ่ที่เมืองกาลิงคะ แล้วไปที่ศรีลังกาที่แคนดี
5. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่นาคพิภพ
6. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ประดิษฐาน อยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
7. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่คันธาระในอัฟกานิสถานต่อมาถุกอัญเชิญไปเมืองฉางอัน ในจีนโดยหลวงจีนฟาเหียนต่อมานำมาบรรจุที่วัด หลิงกวง นครปักกิ่ง
แต่เดิมพระเขี้ยวแก้วองค์นี้เดิมอยู่ที่แคว้นกาลิงคะหรือรัฐโอริสสาในอินเดียตะวันออก ถูกอัญเชิญมาที่ ศรีลังกา นอกเหนือจากพระเขี้ยวแก้วแล้วกล่าวกันว่า ศรีลังกายังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตอนจากกิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ต้นแรกอยู่ที่อนุราธปุระ พระรากขวัญที่ พระมหาสถูปถูปารามที่อนุราธปุระ พระบรมสารีริกธาตุจำนวนเท่าทะนานหนึ่งบรรจุที่มหาสถูปรุวันเวลิสิยะที่อนุราธปุระ พระเกศาและเส้นที่ตัดแล้วของพระพุทธองค์ที่วัดคงคาราม
กษัตริย์คูหะศิวะแห่งแคว้นกลิงคะทรงให้พระราชธิดา คือ เจ้าหญิงเหมาลาซ่อนพระเขี้ยวแก้วไว้ในมวยผมแล้วหนีออกจากบ้านเมือง ขณะที่พวกฮินดูกำลังได้ชัยชนะ กัตริย์กุหะศิวะทรงพิจารณาว่าหากพวกฮินดูยึดเมืองได้ก็จะทำลายพระเขี้ยวแก้วนี้ ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า มีครั้งหนึ่งที่พวกฮินดูพยายามทำลายโดยเอาค้อนทุบแต่ฆ้อนกลับแตก จึงส่งคืนให้ชาวพุทธ เมื่อเจ้าหญิงเหมาลาและเจ้าชายทันตะพระสวามีเดินทางมาถึงศรีลังกาก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระเจ้ากิติศิริเมฆวัน โดยทรงสร้างอาคารประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วที่โปโลนนารุวะ และมี พิธีการต่างๆ รวมทั้งการถวายสักการะ แห่ง เพราเฮรา และได้กลายเป็นสิ่งศักสิทธิ์ที่สุดของประเทศนี้
กษัตริย์ต้องสร้างวัดพระเขี้ยวแก้วไว้ใกล้วังและกษัตริย์ ปัจจุบันพระเขี้ยวแก้วอยู่ในความดูแลของพระภิกษุจากวัดมัลวัตตะและวัดอัสสคีรี และคฤหัสถ์ที่สืบตระกูลติยะวัฒนา นิลาเม เป็นผู้พิทักษ์ไม่มีผู้ห็นพระเขี้ยวแก้วบ่อยนักเพราะถูกปิดผนึกแน่น จนใน พ.ศ 2358 เมื่ออังกฤษเข้ายึดแคนดี้ได้ ได้เปิดผอบพิสูจน์ว่าวัตถุสีขาวค่อนไปทางน้ำตาลที่หุ้มด้วยไหมทองคำนั้นเป็นฟันแน่นอน แต่เนื่องจากมีขนาดถึง 5 เซนติเมตร อังกฤษจึงสงสัยว่าเป็นฟันจระเข้ไม่น่าใช่ฟันมนุษย์