แสวงบุญไหว้พระ กราบพระบรมธาตุเขี้ยวแก้ว แดนพุทธศาสนา ศรีลังกา
พระพุทธศาสนาในศรีลังกานั้น ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายยุคหลายสมัย ซึ่งความเชื่อและความศรัทธาที่ฝังรากลึกของพุทธศาสนิกชนชาวศรีลังกา ได้ทำให้พระพุทธศาสนาในดินแดนแห่งนี้ยังคงอยู่และสืบต่อไป ดังเช่นคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า “สังขารคือสิ่งที่มีอยู่และดับไป ส่วนความดีนั้น คือสิ่งที่จะอยู่ตลอดไปไม่มีวันดับ” นี่จึงเป็นเสน่ห์ที่คุณต้องมาเยือน
วัดเกลาณียะราชมหาวิหาร
อยู่ห่างจากกรุงโคลัมโบประมาณ 13 กิโลเมตรทางทิศเหนือ วัดแห่งนี้มีความสำคัญต่อชาวพุทธศรีลังกาเพราะเชื่อว่าองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ที่เป็นสาวกอีก 500 รูปได้เคยเสด็จมายังวัดแห่งนี้ในวันวิสาขบูชาตามคำเชิญของเจ้าผู้ครองแคว้น กัลยาณี ซึ่งเป็นพญานาค นามว่า มณีอัคขิกะ (King Maniakkhika) ซึ่งปัจจุบัน ในบริเวณวัดมีพระเจดีย์ทรงระฆังคว่ำสีขาวผุดผ่องขนาดมหึมาซึ่งชาวพุทธศรี ลังกาเชื่อว่าเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระแท่นบัลลังค์ที่องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าประทับเมื่อคราวมาโปรดพญานาคมณีอัคขิกะและบริวาร
ขบวนแห่พระบรมธาตุเขี้ยวแก้ว อันศักดิ์สิทธิ์ของประเทศศรีลังกา
เทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้ว ถือเป็นหนึ่งในพิธีทางพุทธศาสนาอันเก่าแก่และอลังการที่สุดในโลก ประกอบด้วยขบวนพาเหรดที่มีการแสดงอันหลากหลาย ตั้งแต่การควงกระบองไฟ การเต้นระบำแส้ รวมถึงระบำพื้นเมืองของชาวแคนดี้ (Kandyan Dance) และจุดเด่นของขบวนแห่ที่ไม่ควรพลาดคือ การแสดงของขบวนช้างจำนวนมากกว่า 50 เชือก ที่ต่อกันเป็นริ้วขบวนยาว ตกแต่งและประดับประดาด้วยผ้าหลากสีซึ่งสอดคล้องกับแสงไฟอันสว่างไสวของเมือง
เมืองแคนดี้ สถานที่ประดิษฐานของพระบรมธาตุเขี้ยวแก้ว
เมืองแคนดี้ ตั้งอยู่บนยอดเขา สูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 500 เมตร เป็นเมืองมรดกโลกของประเทศศรีลังกา เมืองนี้เคยเป็นที่มั่นสุดท้ายของกษัตริย์สิงหล ก่อนการยกดินแดนให้กับจักรวรรดิอังกฤษใน ค.ศ. 1815หลังจากที่ได้ต่อต้านชาวโปรตุเกส และชาวดัตช์มานานถึงสามศตวรรษ เมืองแคนดี้ เดิมเรียกว่า ‘ศิริวัฒนานคร’ หรือ ‘สิงหขันธนคร’ ชาวเมืองสิงหลเรียก ‘ขันธะ’ หมายถึงกองหินหรือภูเขา เมื่อต่างชาติเข้าครองเมือง ขันธะ จึงออกสำเนียงตามฝรั่งว่า แคนดิ หรือ แคนดี้นั่นเอง
มหินตะเล อนุราธปุระ จุดกำเนิดพระพุทธศาสนาของเกาะศรีลังกา
การเดินทางของพระมหินทเถระสู่เกาะลังกา บทความเรื่องลังกาทวีป ประทีปพุทธธรรม ตอนที่ ๑ ได้กล่าวถึงลังกาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่ครั้งอดีตกาลจวบจนปัจจุบัน ตำนานว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในพระคัมภีร์ทีปวงศ์และพระคัมภีร์มหาวงศ์ ซึ่งในบทความตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเยือนเกาะลังกาถึง ๓ ครั้งด้วยกัน ดังนี้ ครั้งที่ ๑ คือ เดือนที่ ๙ หลังพระบรมศาสดาตรัสรู้ธรรม ครั้งที่ ๒ คือ ปีที่ ๕ หลังพระองค์ทรงขับไล่อมนุษย์ออกจากเกาะลังกา และครั้งที่ ๓ คือ พรรษาที่ ๘ แห่งการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธองค์ สำหรับในตอนที่ ๒ นี้จะกล่าวถึง เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ณ เกาะลังกาหลังพุทธปรินิพพานที่มีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ทั้ง ๒ ฉบับ
โปโลนนารุวะ ราชธานีแห่งที่สองของศรีลังกา
หลังจากได้ชัยชนะเหนือเมืองอนุราธปุระ ราชวงค์โจฬะแห่งอินเดียใต้ ได้สถาปนาโปโลนนารุวะ เป็นราชธานี ในปลาย ศต.ที่ 10 ต่อมาในปี 1070 พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 กษัตริย์แห่งสิงหล เห็นว่าลังกาตกอยู่ในสภาพที่ถูกรุกรานระส่ำระสาย ก็ทรงรวบรวมกำลังชาวลังกาทั้งหมด ให้ผนึกกำลังกัน สูรบกับชาวต่างชาติ จนสามารถขับไล่ราชวงค์โจฬะออกไปได้อย่างราบคาบ ในปี 1070 หลังได้ชัยชนะพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 ยังคงรักษาโบโลนนารุวะเป็นราชธานีต่อไป เพราะเห็นว่ามีทำเลที่ตั้งดีตามจุดยุทธศาสตร์
รุวันเวลิสยาเจดีย์ อนุราธปุระ
เจดีย์รุวันเวลิ หรือ มหาถูปา หรือ สุวรรณมาลิกเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองอนุราชปุระ มีขนาดกว้าง 100 เมตร สูง 100 เมตร เป็นเจดีย์ทรงกลมฟองน้ำ มีกำแพงประดับด้วยช้างหินล้อมรอบรวม 362 เชื่อก มีเนื้อที่ 12.5 ไร่ ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะมีพระประสงค์จะสร้างพุทธสถานอีกแห่งหนึ่งตรงบริเวณที่เป็นเจดีย์รุวันเวลิในเวลาต่อมา และพระมหินทเถระได้พยากรณ์การก่อสร้างไว้ให้ แต่ยังมิทันได้สร้าง พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน เจดีย์รุวันเวลิสร้างสำเร็จโดยพระเจ้าทุฎฐาคามีนีอภัย โดยพระเจดีย์รุวันเวลิสร้างเสร็จในวันที่พระองค์เสด็จสวรรคต